ศึกษาเศรษฐศาสตร์ เกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น ความหมายของคำว่าทรัพยากรมีจำกัดกับความต้องการมีไม่จำกัด ความขาดแคลน การเลือก และค่าเสียโอกาส ความหมายและความสำคัญของการบริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ หลักการในการบริโภคที่ดี ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคค่านิยมและพฤติกรรมของการบริโภคของคนในสังคมปัจจุบัน รวมทั้งผลดีและผลเสียของพฤติกรรมดังกล่าวความหมายและความเป็นมาของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งโครงการตามพระราชดำริ หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิต ความสำคัญ คุณค่า และประโยชน์ของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อสังคมไทย ความหมาย ประเภท และความสำคัญของสถาบันการเงินที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ บทบาทหน้าที่และความสำคัญของธนาคารกลาง การหารายได้ รายจ่าย การออม การลงทุน ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค และสถาบันการเงิน ตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นการพึ่งพาอาศัยกันและกัน และการแข่งขันกันทางเศรษฐกิจในประเทศ ปัญหาเศรษฐกิจในชุมชนและประเทศ ความหมายและกฎอุปสงค์ อุปทาน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดอุปสงค์และอุปทาน ความหมายและความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาพอสังเขป ตัวอย่างการละเมิดแห่งทรัพย์สินทางปัญญา
แต่ละประเภท

          ศึกษาภูมิศาสตร์ เกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย และโอเชียเนีย พิกัดภูมิศาสตร์ (ละติจูด และลองจิจูด) เส้นแบ่งเวลา เปรียบเทียบวัน เวลาของโลก ภัยพิบัติของทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย และโอเชียเนีย ทำเลที่ตั้งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมในทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย และโอเชียเนีย การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากร สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ในทวีปเอเชีย ทวีออสเตรเลีย และโอเชียเนีย ประเด็นปัญหาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางกายภาพกับมนุษย์ ที่เกิดขึ้นในทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย และโอเชียเนีย แนวทางการจัดการภัยพิบัติและการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย และโอเชียเนีย อย่างยั่งยืน

          และบูรณาการกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

          โดยใช้ทักษะกระบวนการทางสังคมศาสตร์ เพื่อฝึกทักษะการบริหารจัดการ อธิบาย วิเคราะห์ ยกตัวอย่าง เสนอแนวทางแก้ไข ระบุ อภิปราย ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ค้นหา สรุปข้อมูล กระบวนการทางภูมิศาสตร์ ใช้ภูมิสารสนเทศ ใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ สืบค้น เปรียบเทียบ มีส่วนร่วม สำรวจ จัดการภัยพิบัติ และจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

          เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ทักษะกระบวนการทางสังคมศาสตร์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มีจิตสำนึกในการพัฒนาที่ยั่งยืน เกิดความสามารถในการการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ ความสามารถในการคิด ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ